น้อง ๆ อาจจะเคยได้ยินคำนี้มาบ้างแล้วนะคะ จริง ๆ แล้ว Culture shock เนี่ยเกิดจากการที่เราไปเจอกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตในต่างประเทศ วัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งทัศนคติที่แตกต่าง จนทำให้เรารู้สึกแปลกแยกจากคนอื่น

ซึ่งหากไม่ระวังก็อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิตได้เช่นกัน

บทความนี้พี่ Great-Ed จะมาเล่าให้น้อง ๆ ได้ทำความเข้าใจกับ Culture Shock ว่ามีกี่แบบ กี่ระดับ เพื่อจะได้รู้ว่าเราอยู่ในระดับไหน และจะระวังตัวอย่างไรดี

Culture Shock แบ่งได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้ค่ะ

Honeymoon Stage (Initial Euphoria)

คือระดับช่วงที่ไปแรก ๆ จะยังคงตื่นเต้น และมองข้ามสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปค่ะ
ช่วงนี้จะยังไม่รู้สึกอะไรมากมายนัก

Anxiety Stage (Irritation and Hostility)/Crisis Period

หลังจากผ่านช่วงแรกไปอย่างรวดเร็ว
ในระยะนี้น้อง ๆ จะเริ่มรู้สึกถึงความแตกต่าง จากเรื่องเดิม ๆ ที่เคยมองข้ามไป
เริ่มตั้งคำถาม รำคาญ โกรธ ผิดหวัง และเสียใจ บางคนอาจตกอยู่ในระยะนี้เป็นระยะเวลานานและเกิดอาการซึมเศร้าได้

Adjustment Stage (Gradual Understanding)

เอาล่ะค่ะ ถ้าน้อง ๆ สามารถก้าวผ่านมาสู่ระยะนี้ได้ ก็จะสามารถเริ่มปรับตัวและมองถึงสิ่งดี ๆ
จากความแตกต่าง เริ่มยอมรับและมีความสุขบนพื้นฐานของความแตกต่างนั้นได้แล้ว

Mastery Stage (Adaptation/Biculturalism)

ระยะนี้ได้น้อง ๆ จะสามารถเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวัฒนธรรม และการใช้ชีวิตที่แตกต่างได้แล้วค่ะ
อาจจะมีความรู้สึกคิดถึงบ้านบ้างในบางครั้ง แต่จะไม่รู้สึกแปลกแยกในสังคมใหม่อีกแล้ว

นอกจากนี้ยังสามารถเกิด Reverse Culture Shock ได้อีกด้วยเมื่อกลับประเทศไทย

อาการ Reverse Culture Shock ก็คือเมื่อน้อง ๆ กลับมาใช้ชีวิตปกติในประเทศไทย
น้องจะเริ่มเปรียบเทียบสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ดีต่างประเทศ เรียกว่าไม่คุ้นเคยกับประเทศไทยเสียแล้ว บางคนอาจจะเกิดปัญหาในการปรับตัวในระยะนี้รุนแรงกว่าการเกิด Culture shock ซะอีก และส่งผลต่อการดำเนินชีวิต และการทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ ก็ต้องมาเริ่มปรับตัวเข้าสู่ 4 ระดับกันใหม่อีกค่ะ